สินค้าคงคลัง(Inventory) จัดว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนชนิดหนึ่งซึ่งกิจการต้องมีไว้เพื่อขายหรือผลิต ดังนั้นสินค้าคงคลัง
จึงหมายถึงวัตถุดิบ (Raw Material) หรือสิ่งของชิ้นส่วน ที่ซื้อมา เพื่อใช้ในการผลิตฉนั้นในการจัดการสินค้าคงคลังจึงต้องมีองค์
ประกอบดังต่อไปนี้
1. วัตถุดิบ (Raw Material) คือชี้นส่วนที่องค์กรได้ทำ การซื้อหามา เพื่อใช้ในการผลิต
2. งานระหว่างผลิต คือชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนของการ ผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตในขั้นต่อไป โดยที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอน
3. วัสดุซ่อมบำรุง คือชิ้นส่วนหรืออะไหล่ของเครื่องจักร ที่สำรองไว้เพื่อเปลี่ยน เมื่อชิ้นส่วนเดิมเสียหายหรือหมดอายุการ
ใช้งาน
4. สินค้าสำเร็จรูปคือปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวน การผลิตที่ครบถ้วนพร้อมที่จะนำไปเสนอขายให้แก่ลูกค้าได้
5. ส่วนประกอบอื่น ๆได้แก่ แรงงาน (Labour) เงินลงทุน (Capital) เครื่องมือ (Tools) เครื่องจักร(Machine) และ
อุปกรณ์(Equipment)
บทบาทของสินค้าคงคลังในซัพพลายเชน
สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุดโดยไม่
กระทบต่อระดับการให้บริการ ซึ่งปัจจัยนำเข้า (Input) ของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ วัตถุดิบ (Raw Material)
ชิ้นส่วน (Parts) และวัสดุต่าง ๆ (Material) ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลังเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิต
ภัณฑ์หลายชนิด นอกจากนั้นการที่มีสินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการสนองตอบความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันที
จะเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมากการบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึง
ส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้า
คงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำและทันเวลามากยิ่งขึ้น การจัดซื้อสินค้าคงคลังมาในคุณสมบัติที่ตรงกับ ความต้องการ
(Demand) ปริมาณที่เพียงพอ (Quantity) ราคาที่เหมาะสม(price) ทันเวลาที่ต้องการ (Time) โดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้
และนำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุดเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุ
ประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ คือ
1. สามารถมีสินค้าคงคลัีง บริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอและทันต่อความต้องการของลูกค้าเสมอเพื่อสร้างยอดขาย
และรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้
2. สามารถลดระดับการลงทุน ในสินค้าคงคลังในราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงด้วย
วัีตถุประสงค์ 2 ข้อนี้จะมีความขัดแย้งกันเอง เพราะการลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำที่สุดมักจะต้องใช้วิธีการลดระดับสินค้าคงคลัง
ให้เหลือแค่เพียงพอใช้ป้อนการผลิตเพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำเกินไปก็ทำให้การ
บริการลูกค้าไม่เพียงพอ หรือไม่ทันใจลูกค้าในทางตรงกันข้ามการถือสินค้าคงคลังไว้มากเพื่อผลิตหรือเพื่อจัดส่งให้ลูกค้าได้เพียงพอ
และทันเวลาเสมอนั้นทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังสูงขึ้น ดังนั้น การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) โดยการรักษา
ความสมดุลของวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และเนื่องจากการบริหารการผลิตในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็น
หลักสำคัญซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีก็เป็นส่วนหนึงของการสร้างคุณภาพที่ดีซึ่งทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดด้วยจึงดูเหมือนว่า
การมีสินค้าคงคลังในระดับสูงจะเป็นประโยชน์กับกิจการในระยะยาวมากกว่า เพราะจะรักษาลูกค้า และส่วนแบ่งตลาดได้ดีแต่อันที่
จริงแล้วต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูงก็มีส่วนที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วยมีผลให้ไม่สามารถที่จะต่อสู้กับคู่แข่งขันในด้านราคาได้
จึงต้องทำให้ต้นทุนต่ำคุณภาพดีและบริการที่ดีด้วยในขณะเดียวกัน
ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง
1. เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล โดยธุรกิจ
ต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า
2. เป็นการรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงานการเดินเครื่องจักร ฯลฯให้สม่ำเสมอได้
โดยจะเก็บสินค้าที่จำหน่ายไม่หมดในช่วงที่จำหน่ายได้ไม่ดีไว้จำหน่ายตอนช่วงเวลาที่ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความต้องการซึ่งในช่วง
เวลานั้นอาจจะผลิตไม่ทันการจำหน่าย
3. ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount) จากการจัดซื้อสินค้าจำนวนมากต่อครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการ
เปลี่ยนแปลงราคาและผลกระทบจากเงินเฟ้อ เมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
4. เป็นการป้องกันของขาดมือ ด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ เมื่อเวลารอคอยล่าช้าหรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน
5. ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงักอันเนื่องจากของขาดมือ จนทำให้เกิด
ความเสียหายแก่กระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้คนงานว่างงาน เครื่องจักรถูกปิดหรือผลิตไม่ทันคำสั่งซื้อของลูกค้า
อุปสงค์(Demand)
คือจุดเริ่มต้นของการจัดการสินค้าคงคลังจะเริ่มจากอุปสงค์ของลูกค้า (Customer Demand) เพื่อจัดการให้เป็นไปตามความ
ต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องใช้หลักการพยากรณ์โดยอุปสงค์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
อุปสงค์แปรตาม(Dependent Demand) เป็นอุปสงค์ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและสินค้าที่ใช้ต่อเนื่อง ในกระบวนการ
ผลิต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงถ้าขาดวัตถุดิบประเภทนี้ เช่นถ้าโรงงานประกอบสารเคมี มีสารเคมีขาด
หายไปแม้แต่ชนิดเดียวก็จะทำให้โรงงานหยุดทันที
อุปสงค์อิสระ (Independent Demand) เป็นอุปสงค์ของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและสินค้าที่ไม่ใช้ต่อเนื่องในกระบวน
การผลิต ส่วนมากจำหน่ายให้ลูกค้าโดยตรงถ้าไม่มีอาจจะเสียโอกาส และถูกปรับ